หลักเกณฑ์การ ขอรับการสงเคราะห์ สำหรับเกษตรกรสวนยาง
1. จะต้องมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 2 ไร่ แต่ละไร่มีต้นยางปลูก กระจัดกระจายไม่น้อยกว่า 10 ต้น และโดยเฉลี่ยไม่น้อยกว่าไร่ละ 25 ต้น และต้นยางที่มีอยู่นั้น ต้องเป็นต้นยาง อายุกว่า 25 ปีขึ้นไป หรือต้นยางทรุดโทรมเสียหาย หรือต้นยางที่ได้ผลน้อย กรณีมีเนื้อที่น้อยกว่า 2 ไร่และเป็นส่วนสุดท้ายของแปลง ที่เคยได้รับการสงเคราะห์ปลูกแทนด้วยยางมาแล้ว หากขอรับการสงเคราะห์ปลูกแทนด้วยยาง ก็อยู่ในหลักเกณฑ์ ได้รับการสงเคราะห์ เพื่อปลูกแทนได้ 1.1 ต้นยางทรุดโทรมเสียหายเนื่องจากเปลือกกรีดเสียหาย ต้องมีลักษณะ ดังนี้ 1.1.1 ต้นยางมีอายุเกิน 15 ปี 1.1.2 เปลือกของต้นยางที่ใช้ในการกรีด ต้องเสียหาย เกินร้อยละ 50 1.1.3 ต้นยางตามข้อ 1.1.2 จำต้องมีจำนวนเกินร้อยละ 50 ของจำนวนต้น ยางที่ปลูกทั้งหมด
1.2 ต้นยางทรุดโทรมเสียหายเนื่องจากวาตภัย มีหลักเกณฑ์การพิจารณา ดังนี้ 1.2.1 ต้นยางที่ได้รับความเสียหาย ต้องเปิดกรีดแล้ว ไม่น้อยกว่า 70% และ เสียหายจนเสียสภาพสวน 1.2.2 ประสบวาตภัยมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน นับจนถึงวันยื่นคำขอรับการ สงเคราะห์
1.3 ต้นยางได้ผลน้อย ต้องมีลักษณะ ดังนี้ 1.3.1 ต้นยางต้องมีอายุเกิน 15 ปี เปิดกรีดมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 5 ปี 1.3.2 ต้องเป็นสวนยาง ที่ได้รับการดูแล ปราบวัชพืชและใส่ปุ๋ยเป็นอย่างดีแล้ว ก็ยังให้ผลน้อยอยู่
1.4 ต้นยางทรุดโทรมเสียหาย เนื่องจากถูกไฟไหม้ ต้องมีลักษณะ ดังนี้ 1.4.1 ต้นยางในสวนจะต้องเปิดกรีด แล้วมีขนาดเส้นรอบต้น ไม่น้อยกว่า 50 ซม. โดยวัด ณ จุดสูงจากพื้นดิน 75 ซม. สำหรับต้นยาง ที่ปลูกด้วยเมล็ด หรือกล้าและ 150 ซม. สำหรับ ต้นยางติดตา 1.4.2 จำนวนต้นยางตามข้อ 1.2.1 จะต้องมีไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60 ของ จำนวนต้นยางปลูกทั้งหมด และเปิดกรีดมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 1 ปี 1.4.3 ไฟไหม้มาแล้วจนถึงวันยื่นคำขอสงเคราะห์ไม่เกิน 1 ปี
2. จะต้องไม่เป็นพื้นที่หวงห้ามของทางราชการ หรืออยู่ในเขตป่าสงวน แห่งชาติหรือเขตอุทยานแห่งชาติ หรือป่าที่คณะรัฐมนตรี มีมติกำหนดไว้ให้เป็น ป่าถาวรอันเป็นสมบัติของชาติ เว้นแต่จะได้รับอนุญาต จากหน่วยราชการ ผู้รับผิดชอบให้เป็นผู้ใีสิทธิทำกินหรือได้รับอนุญาตให้เข้าทำ ประโยชน์ หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นการชั่วคราว เพื่อการทำสวนยาง
3. การขอรับการสงเคราะห์ ด้วยการสร้างสวนยางพันธุ์ดี ในที่ดินแปลงใหม่ ตามมาตรา 21 จะต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ ดังนี้ 3.1 เป็นเจ้าของสวนยางแปลงเดีัยวหรือหลายแปลง รวมกันมีเนื้อที่ไม่เกิน 15 ไร่ (ทั้งของตนเองและคู่สมรส) ไม่ว่าจะเป็น สวนยางอ่อนหรือสวนยางแก่ และจะต้องมีที่ดินแปลงใหม่ ซึ่งมีเนื้อที่ติดต่อ เป็นผืนเดียวกันตั้งแต่ 15 ไร่ ขึ้นไป (จะเป็นของตนเองหรือคุ่สมรสก็ได้) 3.2 ที่ดินสวนยางแปลงเดิมและที่ดินแปลงใหม่ จะติดต่อเป็นผืนเดียวกัน ก็ได้ หรือที่ดินสวนยางแปลงเดิมอยู่แห่งหนึ่ง ที่ดินแปลงใหม่อยู่แห่งหนึ่ง ก็ได้ แต่ต้องอยู่ในเขตจังหวัดเดียวกัน 3.3 ที่ดินสวนยางแปลงเดิมส่วนที่จะได้รับการสงเคราะห์จะต้องเข้าหลัก เกณฑ์ตามข้อ 1 และ 2 ที่ดินแปลงใหม่จะต้องเข้าหลักเกณฑ์ตามข้อ 2 และต้องสร้างสวนยางพันธุ์ดีตั้งแต่ 15 ไร่ขึ้นไป 3.4 การขอรับการสงเคราะห์ตามมาตรา 21 นั้น จะต้องทำคำรับรองของผู้รับ การสงเคราะห์ ตามมาตรา 21 ตามแบบที่ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
การยื่นขอรับการสงเคราะห์เพื่อปลูกแทนต้องมีคุณสมบัติดังนี้ กรณีผู้ยื่นขอเป็นบุคคลทั่วไป 1. เป็นบุคคลสัญชาติไทย 2. เป็นเจ้าของสวนยางโดยมีหลักฐานการมีสิทธิ์ในที่ดินหรือมีหลักฐานการครอบ ครองที่ดินสวนยางตามที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางกำหนด หรือ เป็นผู้ที่ครอบครองที่ดินสวนยางมือเปล่าโดยชอบด้วยกฎหมายต่อเนื่องกันมากกว่า 10 ปี หรือผู้รํบโอนสวนยางจากผู้มีสิทธิ์ครอบครองดังกล่าว ซึ่งต้องมีหนังสือรับรองจากส่วนราชการที่รับผิดชอบว่า ไม่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยาน หรือเขตหวงห้ามของทางราชการ 3. เป็นผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของสวนยางให้ทำการแทน 4. เป็นผู้เช่าสวนยางของผู้อื่นเพื่อผลิตยาง โดยมีสัญญาเช่า 5. เป็นผู้มีสิทธิ์ได้รับผลิตผลจากต้นยางในสวนยาง โดยได้รับความยินยอมจาก เจ้าของสวนยางเป็นลายลักษณ์อักษร 6. เป็นผู้เช่าที่ดินของผู้อื่นเพื่อสร้างสวนยางโดยมีสัญญาเช่า 7. เป็นเจ้าของสวนยางที่ได้รับอนุญาตให้เช่าทำสวนยางในเขตป่าสงวนแห่งชาติ หรือวนอุทยานแห่งชาติ หรือเขตหวงห้ามของทางราชการ โดยมีหลักฐานอนุญาต ซึ่งทางราชการออกให้